ยี่หุบ
ยี่หุบ[1] หรือหญ้าปากนกมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ หญ้าเอ็นตะแคง (ภาคเหนือ) หญ้าซากโอน แหลวใหญ่ ลำโอน (ภาคอีสาน) ตีนเป็ด หญ้าง้าว หญ้าขุยไผ่ เป็นต้น พืชชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ Gramineae มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Miscanthus floridulus (Labill.) Warb. ex Grassl[2]
ประโยชน์และสรรพคุณของยี่หุบ
- ต้นและใบใช้ประโยชน์เป็นอาหารสัตว์ เช่น สัตว์เคี้ยวเอื้องต่างๆ ได้[2]
- นอกจากนั้น ยังสามารถนำมาปลูกเป็นไม้ประดับโดยปลูกเป็นกลุ่มในบริเวณสนามหญ้า หรือริมทางเดิน[3]
- ทั้งนี้ ยี่หุบค่อนข้างเป็นวัชพืชที่สามารถขึ้นได้ง่ายตามทุ่งหญ้า ริมป่าโปร่ง ริมลำธาร[2] แต่นับเป็นวัชพืชที่ค่อนข้างมีประโยชน์ เนื่องจากลำต้นสามารถนำมาใช้ทำตะกร้าสานได้[4]
การปลูกยี่หุบ
- ฤดูปลูกเริ่มช่วงต้นฤดูฝน (เดือนเมษายน-มิถุนายน) และสิ้นสุดในช่วงฤดูหนาว (เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน)
- สภาพดินที่เหมาะสมคือดินร่วนปนทราย เนินเขาที่มีความลาดชันต่างกันตั้งแต่ 7-50% พื้นที่ไม่ค่อยมีน้ำขัง[1]
- เลือกกิ่งพันธุ์จากต้นที่มีสุขภาพสมบูรณ์ ตัดกิ่งที่อายุไม่เกิน 3 เดือน ไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป ความยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร[4]
[1] กรมป่าไม้. (2563). ยี่หุบ. เก็บจาก https://www.forest.go.th/knowledge/botany/detail/1177
[2] ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์. (2563). ยี่หุบ. เก็บจาก https://www.qsbg.org/database/botanic_gardens/plants_detail.php?id=1870
[3] นันทศักดิ์ วิจิตรศิลป์. (2565). หญ้าปลูกใบใหญ่ กลุ่มหญ้าเหยียบย่ำ}. เก็บจาก https://www.baanlaesuan.com/plant/ornamental-grass/295785.html
[4] สถาบันวิจัยและพัฒนาพืชสวน. (2554). หญ้าปักกิ่ง ปลูกเพื่อรักษาป่าต้นน้ำ. เก็บจาก http://www.doae.go.th/crop/saraburi/news/new43.html